สาขาวิชาภาษาเยอรมัน

images

ข่าวกิจกรรม

เข้ารับรางวัลนักศึกษาที่มีผลการเรียนภาษาเยอรมันดีเด่นจากสมาคมไทย-เยอรมัน
images

ข่าวกิจกรรม

วันภาษาเยอรมัน (Deutscher Tag)

ประวัติความเป็นมา

-อยู่ระหว่างดำเนินการ-

แนะนำหน่วยงาน

สาขาวิชาภาษาเยอรมันมีวัตถุประสงค์จะพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าในสาขาภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมเยอรมันให้เทียบเคียงได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับชาติ  และมุ่งที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 
       1. มีความรู้เชิงวิชาการในสาขาภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมเยอรมัน และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 
       2. มีทักษะในการใช้ภาษาเยอรมันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการสื่อสาร การประกอบอาชีพ และในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น 
       3. มีความใฝ่รู้ รู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รู้จักคิดวิพากษ์วิจารณ์ และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

การเรียนการสอน

ในหลักสูตรสาขาวิชาภาษาเยอรมันมีการแบ่งกระบวนวิชาที่ชัดเจน เป็นกลุ่มวิชาทักษะทางภาษา กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ กลุ่มวิชาวรรณคดี กลุ่มวิชาการแปล กลุ่มวิชาเยอรมันศึกษา และกลุ่มวิชาภาษาเฉพาะด้าน  
       กลุ่มวิชาทักษะทางภาษา  :  แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ วิชาที่พัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียนไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นวิชาบังคับในชั้นปีที่ 1 และ 2  และกลุ่มวิชาที่พัฒนาทักษะภาษาเฉพาะด้านซึ่งจะเป็นวิชาที่มุ่งพัฒนาเฉพาะด้าน ได้แก่ การอ่าน การเขียนและการฟัง-พูด โดยวิชากลุ่มนี้จะเป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาจะได้เรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 - 4 เป็นลำดับไปตามความเหมาะสม 
       กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ : เป็นวิชาที่ให้ความรู้ด้านภาษาศาสตร์ ซึ่งจะมีทั้งวิชาบังคับที่ให้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นและวิชาเฉพาะสาขาที่นักศึกษาที่สนใจสามารถเลือกเรียนได้ 
       กลุ่มวิชาวรรณคดี : ในกลุ่มวิชานี้จะมีการปูพื้นความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเยอรมันในเรื่องของการอ่านงานวรรณกรรมและประวัติวรรณคดีเยอรมัน จากนั้นนักศึกษาจะเลือกเรียนวิชาเฉพาะที่แบ่งตามประเภทของงานวรรณกรรมได้ 
       กลุ่มวิชาแปล : เนื่องจากการแปลถือเป็นทักษะเฉพาะอย่างหนึ่งของการเรียนภาษาต่างประเทศ ที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ในชีวิตการทำงานได้มาก จึงกำหนดให้วิชาแปลเป็นวิชาบังคับในชั้นปีที่ 3 และ 4 และยังมีวิชาแปลระดับสูงให้เลือกเรียนได้อีกด้วย 
       กลุ่มวิชาเยอรมันศึกษา : เป็นวิชาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ แนวโน้มการพัฒนาประเทศและสังคมในด้านต่างๆ ตลอดจนปัญหาปัจจุบันในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน ในกลุ่มนี้จะมีวิธีบังคับซึ่งเป็นความรู้ทั่วไปในภาพกว้างในชั้นปีที่ 2 และมีวิชาเลือกในระดับสูงขึ้นไป 
       กลุ่มวิชาภาษาเฉพาะด้าน :  เป็นวิชาที่มุ่งให้นักศึกษามีความรู้และได้ฝึกฝนการใช้ภาษาที่จะนำไปใช้ในชีวิตการทำงานเฉพาะสาขาอาชีพได้ โดยขณะนี้จะเปิดสอนวิชาภาษาเยอรมันเพื่อการท่องเที่ยว และภาษาเยอรมันเพื่อธุรกิจให้นักศึกษาเลือกเรียนได้ในชั้นปีที่ 4 และนักศึกษายังสามารถเลือกทำสหกิจศึกษาได้ด้วย

โอกาสในการทำงาน

การทำงานนักศึกษาที่เรียนภาษาเยอรมันเป็นวิชาเอกมีโอกาสในการทำงานที่หลากหลาย   ได้แก่            
       1. ผู้สอนภาษาเยอรมันในระดับโรงเรียนหรือสถานศึกษาลักษณะอื่น 
       2. งานด้านการแปลและล่าม 
       3. งานเลขานุการและงานในสำนักงานที่ใช้ภาษาต่างประเทศ  ทั้งในส่วนราชการและภาคธุรกิจ  เช่น  บริษัท  สายการบิน  รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ 
       4. งานในสายงานการท่องเที่ยวและโรงแรม

การศึกษาต่อ

       1. ในประเทศ :   การศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาภาษาเยอรมัน เปิดสอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ   คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่นักศึกษาอาจได้ศึกษาเป็นวิชาโทในระดับปริญญาตรีแล้ว เช่น นิเทศศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว ยุโรปศึกษา จิตวิทยา ฯลฯ 
       2. ต่างประเทศ  :  นักศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน ปัจจุบันมีหลักสูตรทั้งในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตและระดับปริญญาโท ทั้งที่เป็นหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ ทั้งในด้านภาษาและวรรณคดีเยอรมันโดยตรง  และในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

ติดต่อ

สาขาวิชาภาษาเยอรมัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-5394-3278