ศูนย์ล้านนาศึกษา



ประวัติความเป็นมา



หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาล้านนาศึกษา เริ่มเปิดสอนปีการศึกษา 2558 (รุ่นที่ 1)จุดเริ่มต้นของการสร้างหลักสูตร ศ.เกียรติคุณสรัสวดี อ๋องสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้ปรึกษากับคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยในปีพ.ศ.2556 เพื่อขอให้คณะมนุษยศาสตร์รับผิดชอบในการบริหารจัดการหลักสูตรล้านนาศึกษาซึ่งเป็นหลักสูตรสหวิทยาการด้วยเหตุผลประธานฯหลักสูตรเห็นว่าการบริหารจัดการหลักสูตรโดยคณะมนุษยศาสตร์ที่ประสานกับคณาจารย์ต่างคณะที่มาร่วมกันรับผิดชอบการเรียนการสอนมีความสะดวกโดยมีคณะมนุษยศาสตร์เป็นแกน


หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาล้านนาศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหลักสูตรสหสาขาวิชา (Interdisciplinary Program) ประสานสังเคราะห์องค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกันดังเช่น ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณกรรม ความเชื่อ และศิลปวัฒนธรรมในแนวทางของอาณาบริเวณศึกษา AreaStudies

เป้าหมายของหลักสูตร

(1) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านล้านนาศึกษา และ
(2) ประยุกต์ความรู้ล้านนา เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
การเรียนการสอน การเรียนของเราเน้นฝึกฝนให้รู้จักตั้งคำถามวิธีการตั้งคำถามนั้นสำคัญมากต่อการพัฒนาคำถามไปสู่โจทย์วิจัย กระบวนการทำวิจัย  การจัดระบบคิด  สอนให้คิดอย่างเป็นระบบ  โดยตอบสนองต่อความสนใจของนักศึกษา  ที่เลือกประเด็นวิจัยของตน  บนพื้นที่ล้านนา ที่อยู่ในประเทศไทย(8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน)และนอกประเทศที่มีความสัมพันธ์กับล้านนา(พม่า ลาว และจีน)


หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาล้านนาศึกษา สังกัดภาควิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563 (นักศึกษารุ่น 6)
มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจำนวน 3 ท่าน มีความรู้ความเชี่ยวชาญต่างสาขาวิชา (ผู้สอนหลัก)

1.ศ.เกียรติคุณสรัสวดี อ๋องสกุล  (ด้านประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมล้านนา)

2.รศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล   (ด้านวรรณกรรมล้านนา ,วรรณกรรมท้องถิ่นเปรียบเทียบ,คติชนวิทยา)

3.ผศ.ดร.ปนัดดา บุณยสาระนัย   (ด้านภาษา, แนวคิดทฤษฎีในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม)


 อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ประจำทำหน้าที่สอนและดูแลวิทยานิพนธ์

1.รศ.หทัยวรรณ ไชยะกุล (ภาษาไทย)
2.อ.ดร.สุภาวดี เพชรเกตุ (ภาษาไทย)
3.อ.ดร.ภคภต เทียมทัน (ภาษาไทย)
4.อ.ดร.ภักดีกุล รัตนา (คณะศึกษาศาสตร์)
5.ผศ.ดร.เชาวลิต สัยเจริญ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
6.ผศ.ดร.สุรชัย จงจิตงาม (คณะวิจิตรศิลป์)

7.ดร.สุวิภา จำปาวัลย์ (สถาบันวิจัยสังคม)


ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม/กรรมการสอบวิทยานิพนธ์

1.ศ.ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ

2.รศ.ดร.กนกพร นุ่มทอง

3.รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ

4.ผศ.ดร.ชาญคณิต อาวรณ์

5.รศ.เรณู วิชาศิลป์

6.รศ.สมโชติ อ๋องสกุล

7.ดร.สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ


อาจารย์ในบัณฑิตวิทยาลัยชาวต่างประเทศ

1.Associate Professor Dr.Rao Ruiying (อาจารย์ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยชนชาติญูนนานประเทศจีน)

 

แนะนำหน่วยงาน

ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านล้านนาศึกษา โดยมีกิจกรรมหลัก 3 ด้าน ได้แก่
1.เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาล้านนาศึกษา
2.จัดพิมพ์เอกสารวิชาการล้านนาศึกษา
3.จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านที่เกี่ยวข้องกับล้านนาศึกษา
ภารกิจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านล้านนาศึกษา ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้รอบด้านสาขาวิชาล้านนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการสู่สังคม

ประธานกรรมการศูนย์ล้านนาศึกษา

รองศาสตราจารย์ ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาล้านนาศึกษา

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล

การเรียนการสอน

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาล้านนาศึกษา (หลักสูตรสหสาขาวิชา)

ภาษาอังกฤษ: Master of Arts Program in Lan Na Studies        (Interdisciplinary Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทยชื่อเต็ม  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  (ล้านนาศึกษา)

                  ชื่อย่อ   ศศ.ม.(ล้านนาศึกษา)

ภาษาอังกฤษ:   ชื่อเต็ม  Master of Arts (Lan Na Studies)

                  ชื่อย่อ   M.A. (Lan Na Studies)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

แบบ 1 (แผน ก แบบ ก1)  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต

แบบ 2 (แผน ก แบบ ก2) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า  36  หน่วยกิต

แบบ 3 (แผน ข) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า  36  หน่วยกิต 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

หลักสูตร แบบ1 (แผน ก แบบ ก1)

1.คุณสมบัติตามประกาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในแต่ละปีการศึกษา

2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีผลการเรียนไม่น้อยกว่า  3.00 หรือเทียบเท่า หรือตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

3.มีผลงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับล้านนาศึกษา หรือตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

หลักสูตร แบบ2 (แผน ก แบบ ก2)

1.คุณสมบัติตามประกาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในแต่ละปีการศึกษา

2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีผลการเรียนไม่น้อยกว่า  2.50 หรือเทียบเท่า หรือตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

3.กรณีเป็นชาวต่างชาติต้องมีผลสอบวัดระดับการใช้ภาษาไทยจากสถาบันที่น่าเชื่อถือหรือเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

4.คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

หลักสูตร แบบ 3 (แผน ข)

1.คุณสมบัติตามประกาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในแต่ละปีการศึกษา

2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีผลการเรียนไม่น้อยกว่า  2.50 หรือเทียบเท่า หรือตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

3.กรณีเป็นชาวต่างชาติต้องมีผลสอบวัดระดับการใช้ภาษาไทยจากสถาบันที่น่าเชื่อถือหรือเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

4.คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

 

โอกาสในการทำงาน

อาจารย์/นักวิจัย/นักวิชาการศึกษา

นักวิชาการในหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับล้านนาศึกษา เช่น

กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่อง

เที่ยวแห่งประเทศไทย ฯลฯ

ผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา

อาชีพอิสระที่ใช้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา

นักสื่อสารมวลชน

มัคคุเทศก์

ผู้นำท้องถิ่น

ติดต่อ

ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-5394-3264 
หมายเลขโทรสาร : -
E-mail : lannastudies03@gmail.com